ผู้เขียน หัวข้อ: งานวิจัยนี้น่าสนใจมากครับ  (อ่าน 8259 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รพสต.ชานุวรรณ

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 301
งานวิจัยนี้น่าสนใจมากครับ
« เมื่อ: มิถุนายน 28, 2012, 11:29:26 AM »
การวิจัยที่เกี่ยวข้องสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขศึกษา

เรื่อง: พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานในตำบลชานุวรรณ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
ผู้วิจัย: นายวุฒิพงษ์  รังไสย
หน่วยงานที่สังกัด: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชานุวรรณ
            สังกัดสาธารณสุขอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
หมายเลขโทรศัพท์: 085-6327574
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชานุวรรณ ประจำปี 2554
            ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ? 31 พฤษภาคม 2554

บทคัดย่อ
ความเป็นมา
      โรคเบาหวานซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยมาก มีโอกาสพบได้มากขึ้นตามอายุ ส่วนสาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน เกิดได้หลายปัจจัยด้วยกัน ที่สำคัญคือสาเหตุจากกรรมพันธุ์และความอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่มีญาติสายตรงคือบิดาหรือมารดา โรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และร้อยละ 90 ของผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จะเป็นโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ปี พ.ศ. 2552 มีผู้ป่วยเบาหวานในเขตพื้นที่ตำบลชานุวรรณ จำนวน 108 ราย ในปี พ.ศ. 2553พบผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้น 7 ราย รวมเป็น 115 ราย ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทส่วนปลาย เช่น ชาปลายมือปลายเท้า จำนวน 30  ราย คิดเป็นร้อยละ 26 ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางตาจากผลการตรวจจอประสาทตา จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 13 ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องสูญเสียอวัยวะจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานจำนวน 2 ราย  คิดเป็นร้อยละ 1.7 ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.2 และต้องรักษาโดยการฟอกไตจำนวน 1 ราย ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 13 จากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้โรคอยู่ในเกณฑ์ดี คิดเป็นร้อยละ 86 แต่ในทางกลับกันพบว่าผู้ป่วยเบาหวานจำนวนร้อยละ 99 ไม่มีเป้าหมายในการดูแลตนเอง และนอกจากนั้นยังพบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานเพียงร้อยละ 6 ที่มีการออกกำลังกายแบบจงใจ โดยผู้ป่วยส่วนมากจะให้เหตุผลว่าได้ออกกำลังกายทุกวันโดยการทำงานซึ่ง ความหมายของการออกกำลังกายที่แท้จริงคือ การเคลื่อนไหวร่างกายหรือทำกิจกรรมที่มีความตั้งใจหรือจงใจเพื่อจะให้เกิดผลทางด้านสุขภาพที่แข็งแรง และอีกเหตุผลที่น่าสนใจของการไม่ออกกำลัง ผู้ป่วยเบาหวานรู้สึกเขินอายที่จะออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกายคนเดียว กลัวคนอื่นมองว่าไม่มีอะไรทำ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 44 และเหตุผลที่ทำสำคัญซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการออกกำลังกาย คือ ผู้ป่วยเบาหวานขาดแรงบันดาลใจในการออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 94  และยังพบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมอาหารอย่างจริงจังเพียงร้อยละ 10 และเหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถควบคุมอาหารได้ คือ ครอบครัว ครอบครัวกินอย่างไร ผู้ป่วยเบาหวานก็กินอย่างนั้น และยากที่จะห้ามใจไว้ได้  มีครอบครัวของผู้ป่วยเบาหวานเพียงร้อยละ 18 ที่ปลูกผักกินเอง นั่นบ่งบอกถึงความสะดวกที่จะเข้าถึงการกินผักทุกวัน แน่นอนถ้าไม่ปลูกเองแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะกินผักทุกวัน เนื่องจากผักค่อนข้างมีราคาแพง นอกจากนั้นยังเป็นผักที่อุดมไปด้วยสารพิษ และส่วนมากเป็นผู้สูงอายุไม่มีฟันแข็งแรงพอที่จะกินผักได้ ข้อสังเกตอย่างหนึ่งของการไม่มีผักในมื้ออาหาร คือ ผู้ป่วยจะกินข้าวมากขึ้น กินอาหารมากขึ้น เพราะการกินผักจะทำให้กินข้าวและอาหารได้อิ่มเร็ว
ดังนั้นการควบคุมโรคไม่ให้รุนแรงมากขึ้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเป็นวิธีหนึ่งที่สำคัญต่อการป้องกันความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญส่วนใหญ่ เกิดจากการมีพฤติกรรมการดูแลที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีแผนในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง จากแนวคิดของเพนเดอร์(Pender, 1996 : 235) กล่าวถึงพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลกระทำจนเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อยกระดับภาวะสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น จนทำ
ให้บุคคลนั้นประสบผลสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในชีวิต โดยกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพมีทังหมด 6 ด้าน คือ ด้านโภชนาการ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านกิจกรรมทางด้านร่างกาย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณและด้านการจัดการกับความเครียด ซึ่งพฤติกรรมแต่ละด้านนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจจะมีการปฏิบัติกับตนเองที่แตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างเหล่านั้นย่อมส่งผลกระทบต่อการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานเองอย่างแน่นอน ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานใน ตำบลชานุวรรณ อำเภอ
พนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ดนั้น จะมีพฤติกรรมการดูแลตนที่แตกต่างกันไปตามสภาพความเป็นอยู่และอาชีพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง ชา ตามปลายมือปลายเท้า โรคตา เป็นต้นซึ่งผู้ศึกษาเชื่อว่า หากมีการปฏิบัติตามกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานจะมีความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
และลดภาวะแทรกซ้อน หรือป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานได้ ดังนั้นผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยซึ่งป่วยด้วยโรคเบาหวาน มีการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคต่อไป




admin

  • Administrator
  • Newbie
  • *****
  • กระทู้: 43
Re: งานวิจัยนี้น่าสนใจมากครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2012, 01:20:34 PM »
 [:84:]